ในยุคที่การทำธุรกิจออนไลน์มีบทบาทมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการค้าขายออนไลน์ระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการหรือผู้ที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจอาจต้องเคยเห็นคำว่า Cross Border ผ่านตากันไปบ้าง หรือใครที่ยังไม่รู้จัก เราจะพามาทำความเข้าใจว่า Cross Border คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไรกับการทำธุรกิจระหว่างประเทศ
Cross Border คืออะไร เข้ามามีบทบาทในธุรกิจอย่างไร
หากใครกำลังเริ่มต้นทำธุรกิจกับต่างประเทศ Cross Border นั้นเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าโดยตรง ซึ่ง Cross Border คือ “การขนส่งผ่านแดน” โดยจะเป็นการขนส่งที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศุลกากร
Cross Border คือการส่งสินค้า หรือสิ่งของจากด่านศุลกากรต้นทางที่ได้ทำการส่งสินค้า ไปสู่ด่านศุลกากรของประเทศปลายทางที่ต้องการส่งทางรถ ซึ่งประเทศของผู้ส่งได้รับการยินยอมให้มีการเดินทางผ่านประเทศที่มีพื้นที่พรมแดนติดกันในช่วงระหว่างการขนส่งสู่ประเทศปลายทาง โดยจะไม่มีการเรียกเก็บเสียภาษีจากประเทศที่เดินทางผ่าน ทั้งนี้ในการขนส่งผ่านแดน หรือ Cross Border จะมีการกำหนดและทำเงื่อนไขข้อตกลงในการขนส่ง เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของแต่ละประเทศ และทำตามระเบียบข้อปฏิบัติอย่างถูกต้อง
Cross Border มีความสำคัญอย่างไรในการทำธุรกิจระหว่างประเทศ
ความสำคัญของ Cross Border คือการเข้ามามีบทบาทในธุรกิจระหว่างประเทศและโลจิสติกส์ ซึ่งมีการกำหนดรูปแบบการขนส่งเพื่อเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสินค้าที่จะส่ง และค่าบริการของการขนส่งที่จะนำมาใช้คำนวณต้นทุนสินค้า
Cross Border หรือการขนส่งผ่านแดนทางรถนั้นมีค่าบริการถูกกว่า ไม่มีการเรียกเก็บภาษีอากร และยังใช้ระยะเวลาในการขนส่งไม่นานมาก มีความรวดเร็ว ดังนั้นหากสามารถทำการขนส่งด้วย Cross Border ทางรถได้ ผู้ค้าหลากหลายเจ้าก็จะนิยมเลือกใช้บริการขนส่ง Cross Border มากกว่า ปัจจุบันผู้ที่ทำธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีนก็เลือกนำเข้าด้วยวิธีการขนส่งผ่านแดนทางรถเช่นกัน
ประเภทของ Cross Border มีอะไรบ้าง และมีรูปแบบการค้าอย่างไร
Cross Border นั้นไม่ได้มีแค่การขนส่งทางรถเท่านั้น แต่ยังมีรูปแบบของการขนส่งอื่น ๆ รวมถึงรูปแบบการค้า E-Commerce อีกด้วย
Cross Border Transportation
Cross Border Transportation คือ การขนส่งผ่านแดน ซึ่งเป็นการส่งสินค้าจากประเทศต้นทางไปยังปลายทางโดยไม่มีการเรียกเก็บภาษี มีรูปแบบการขนส่งทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
- ทางบก: เป็นการขนส่งทางรถซึ่งเดินทางบนถนน ใช้ขนส่งระหว่างประเทศที่มีพรมแดนเชื่อมต่อติดกัน มักจะเป็นการขนส่งด้วยรถบรรทุกหรือรถไฟ ข้อดีคือมีราคาถูก ใช้เวลาในการขนส่งรวดเร็ว แต่อาจมีข้อจำกัดในด้านของปริมาณที่สามารถบรรจุได้ในแต่ละคันรถ
- ทางอากาศ: การขนส่งทางอากาศเป็นรูปแบบวิธีการขนส่งที่รวดเร็วที่สุด โดยสามารถทำการส่งสินค้าทางเครื่องบินทั่วไปผ่านยานบรรทุกสินค้า หรือเครื่องบินสำหรับขนส่งทางอากาศโดยเฉพาะ ในเรื่องของข้อจำกัดอาจมีในเรื่องของสินค้าบางประเภทที่ไม่สามารถส่งผ่านทางอากาศได้ และมีราคาสูง
- ทางทะเล: ขนส่งทางทะเลจะเป็นการส่งสินค้าผ่านเรือบรรทุกสินค้า มักจะมาเป็นรูปแบบของขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ สามารถส่งสินค้าได้ในปริมาณมาก ราคาถูก แต่ใช้เวลาในการขนส่งค่อนข้างนาน และอาจมีการใช้ขนส่งทางบกร่วมด้วยหากประเทศปลายทางไม่มีพื้นที่ติดทะเล
Cross Border E-Commerce
ในส่วนของ Cross Border E-Commerce หรือการค้าผ่านแดนนั้น จะเป็นลักษณะในการซื้อขายระหว่างผู้ค้าและผู้ซื้อ โดยจะแบ่งตามรูปแบบได้ดังต่อไปนี้
- B2B หรือ Business-to-Business จะเป็นการค้าระหว่างธุรกิจ หรือระหว่างเอกชนและเอกชน กล่าวคือเป็นการค้าขายเพื่อตอบสนองความต้องการที่มีจำนวนมาก หรืออาจเรียกได้ว่าการขายส่ง ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการซื้อสินค้าสำเร็จในปริมาณมาก ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบ และการบริการอีกด้วย
- B2C หรือ Business-to-Consumer เป็นรูปแบบที่เจ้าของธุรกิจทำการขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงแบบไม่ผ่านคนกลาง สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ตรงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็ว ซึ่งจะต้องใช้ความสามารถด้านการตลาดเพื่อวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน และทำการตลาดได้เหมาะสมกับลูกค้า
- C2C หรือ Consumer-to-Consumer เป็นธุรกิจที่ทำการซื้อขายปลีกระหว่างบุคคล แต่ในการซื้อขายแบบ Cross Border คือจะต้องมีตัวกลางในการวางขายและสั่งซื้อสินค้า เพื่อให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศสามารถกดซื้อสินค้าได้ในทันที
การค้าผ่านแดนรูปแบบ C2C ผู้ขายก็จะรับผิดชอบในการส่งสินค้าข้ามแดนให้กับลูกค้า ในขณะที่ลูกค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งในประเทศผ่านข้อกำหนดของแพลตฟอร์ม ตัวอย่างของการทำธุรกิจ C2C ระหว่างบุคคล เช่น การขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม Amazon เป็นต้น
Cross Border E-Commerce มีขั้นตอนการทำงานอย่างไรในการจัดส่งสินค้า
ผู้ที่กำลังสนใจจะทำธุรกิจ Cross Border E-Commerce หรือการค้าผ่านแดนระหว่างประเทศ จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนการดำเนินงานว่าเป็นอย่างไร ซึ่งอันดับแรกสิ่งที่ต้องมีในการทำธุรกิจการค้าผ่านแดน ผู้ค้าจำเป็นจะต้องมีร้านค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถรับรู้ถึงสินค้าและทำการซื้อขายได้ จากนั้นเมื่อมีการสั่งซื้อเข้ามาแล้ว ขั้นตอนถัดมาจะมีกระบวนการดังนี้
- ผู้ซื้อทำการสั่งซื้อสินค้า และทำการชำระเงินเสร็จสิ้นสมบูรณ์
- ผู้ค้าเตรียมการจัดส่งสินค้า โดยต้องทำการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อ และคำนึงถึงความปลอดภัยในระหว่างการขนส่ง หากเป็นสินค้าที่สามารถเกิดความเสียหายได้ ควรห่อด้วยกันกระแทกให้เรียบร้อยก่อนบรรจุลงหีบห่อ
- เลือกวิธีการขนส่ง ซึ่งมีให้เลือก 3 ประเภท ได้แก่ ทางบก ทางอากาศ และทางทะเล เนื่องจากผู้ค้าจะต้องเป็นคนรับผิดชอบค่าบริการขนส่งในส่วนนี้ จึงควรเลือกประเภทการขนส่งที่เหมาะสมกับปริมาณหรือน้ำหนักของสินค้า ระยะเวลาในการขนส่ง รวมถึงทำการคำนวณค่าขนส่งระหว่างประเทศรวมในราคาสินค้าให้เรียบร้อย
- เตรียมเอกสารดำเนินพิธีการศุลกากรต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาต ใบขนสินค้า และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสินค้า
- จัดส่งสินค้าและติดตามสถานะหลังจากได้รับเลขติดตามสถานะเมื่อสินค้าเข้าสู่ระบบ เพื่อที่จะได้ทราบถึงตำแหน่งของสินค้าและทำการประสานงานกับบริการขนส่งในประเทศปลายทางได้
- เมื่อสินค้าถึงประเทศปลายทาง จะมีพิธีการศุลกากรเคลียร์สินค้า และเมื่อขั้นตอนนี้เสร็จสิ้นแล้ว สินค้าจะถูกส่งให้กับผู้บริการขนส่งเพื่อส่งมอบให้ผู้ซื้อต่อไป
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ Cross Border ที่ควรทราบ
ในการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Cross Border หรือการค้าผ่านแดน นอกจากขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งมีเอกสารที่ต้องจัดเตรียมแล้ว ยังมีในเรื่องของข้อกฎหมายที่ควรทำความรู้จักอีกเช่นกัน โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ Cross Border คือกฎหมายการนำเข้า ส่งออก การเสียภาษี และท่าสำหรับนำเข้าส่งออก
การนำเข้า
กฎหมายการนำเข้ามาตรา 40 ระบุว่า ก่อนจะนำสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของศุลกากร มีการยื่นใบขนสินค้าที่ถูกต้อง และทำการเสียภาษีอากร หรือวางเงินประกันตามกำหนดของอธิบดี
หากต้องการนำสินค้าออกจากอารักขาศุลกากรอย่างเร่งด่วน สามารถทำได้ภายใต้อำนาจและการกำหนดของอธิบดี หากจะต้องมีการเสียภาษีให้ทำการวางเงินประกันแก่อธิบดีให้เรียบร้อย
การส่งออก
กฎหมายการส่งออกมาตรา 45 ระบุว่า ในการส่งออกใด ๆ นอกราชอาณาจักร ผู้ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายตามพระราชบัญญัติซึ่งเกี่ยวข้องกับกรมศุลกากร มีการยื่นใบขนสินค้าที่ถูกต้อง และทำการเสียภาษีอากร หรือวางเงินประกันตามกำหนดของอธิบดี
หากต้องการส่งออกสินค้านอกราชอาณาจักรอย่างเร่งด่วน สามารถทำได้ภายใต้อำนาจและการกำหนดของอธิบดี หากจะต้องมีการเสียภาษีให้ทำการวางเงินประกันแก่อธิบดีให้เรียบร้อย
ท่าสำหรับการนำเข้า-ส่งออก
กฎหมายท่าสำหรับการนำเข้า-ส่งออก มาตรา 4 ระบุไว้ว่า รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อความประสงค์แห่งการนำของเข้า หรือส่งออกศุลกากร ดังนี้
- กำหนดท่า หรือสถานที่ในราชอาณาจักรสำหรับการนำเข้าหรือส่งออกทางทะเล ทางบก หรือทางอากาศให้เป็นกิจจะลักษณะ โดยมีเงื่อนไขตามเห็นแต่สมควร
- กำหนดสนามบินใด ๆ ในราชอาณาจักรให้เป็นสนามบินศุลกากร โดยมีเงื่อนไขตามเห็นแต่สมควร
- ระบุเขตศุลกากร ณ ท่า หรือสนามบินที่กำหนดไว้
การเสียภาษี
กฎหมายด้านการเสียภาษี มาตรา 10 ระบุว่า ค่าภาษีให้เก็บตามพระราชบัญญัติซึ่งว่าด้วยอัตราอากร และทำการเสียภาษีอากรให้แก่พนักงานในเวลาที่ออกใบขนสินค้า
มาตรา 10 ยังมีทวิบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชอบในการเสียภาษีสำหรับของที่นำเข้า จะเกิดขึ้นเมื่อนำเข้าของสำเร็จ
มาตรา 10 ตรีบัญญัติว่าด้วยความรับในการต้องเสียภาษีสำหรับของที่ส่งออก จะเกิดขึ้นเมื่อส่งออกของสำเร็จ และการคำนวณค่าภาษีจะคำนวณตามสภาพราคา รวมถึงพิกัดศุลกากร ณ ขณะที่ออกใบขนสินค้า
สรุป Cross Border คืออะไร รู้ละเอียด ทำธุรกิจคล่อง
Cross Border คือ การขนส่งผ่านแดนซึ่งมีรูปแบบทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ขนส่งผ่านแดนทางบก ทางอากาศ และทางทะเล โดยจะเป็นการขนส่งที่ไม่มีการเรียกเก็บภาษีจากประเทศที่ทำการผ่านแดนขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างประเทศผู้นำเข้า และประเทศผู้ส่งออก
Cross Border เข้ามามีบทบาทสำคัญในการค้าออนไลน์ระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกับธุรกิจค้าปลีกแบบ B2C และ C2C ทำให้การค้าระหว่างประเทศนั้นมีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็จะมีในเรื่องของข้อกฎหมายและขั้นตอนการทำธุรกิจ Cross Border E-Commerce ที่จะต้องให้ความสำคัญและทำความเข้าใจ โดยเฉพาะในเรื่องของการส่งสินค้าออกนอกประเทศ ค่าบริการและเอกสารต่าง ๆ
สำหรับใครที่อยากทำธุรกิจ Cross Border E-Commerce ก็สามารถใช้บริการบริษัทขนส่งที่ช่วยในด้านการเตรียมเอกสารต่าง ๆ และให้คำแนะนำด้านสินค้าและข้อกำหนดระหว่างประเทศได้ Siam China Cargo ให้บริการนำเข้า-ส่งออกสินค้าด้วยระบบที่มีความเป็นมืออาชีพ มีโกดังรองรับสินค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศ พร้อมให้คำปรึกษาด้านเอกสารจากทีมผู้มีประสบการณ์ในด้านการนำเข้าและส่งออก ผู้ที่สนใจใช้บริการขนส่งกับทาง Siam China Cargo สามารถติดต่อได้ผ่านช่องทางดังนี้
- Line: @siamchinacargo
- Facebook : Siam China Cargo : นำเข้าสินค้าจากจีน