การขนส่งสินค้าเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่มีความสำคัญสำหรับธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีน เพราะเป็นกระบวนการที่มีผลกับต้นทุนสินค้า และมีความเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบการนำเข้าสินค้ามาไทย โดยรูปแบบการขนส่งที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ นั้นก็คือ FCL เนื่องจากเป็นรูปแบบการขนส่งที่มีข้อดีหลายด้าน ดังนั้นบทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการขนส่งแบบ FCL พร้อมตอบคำถามชวนสงสัยของผู้ประกอบการหลาย ๆ คน อาทิ FCL คืออะไร หรือ การขนส่งสินค้าแบบ FCL (Full Container Load) มีข้อดีอย่างไร ซึ่งจะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้างไปติดตามกันได้เลย
FCL คืออะไร? ไขทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าแบบ FCL
FCL ย่อมาจาก Full Container Load คือการขนส่งสินค้าผ่านตู้คอนเทนเนอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งการขนส่งรูปแบบนี้จะบรรจุสินค้าจากผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่งให้เต็มตู้คอนเทนเนอร์ โดยไม่ต้องแบ่งพื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์กับผู้นำเข้า-ส่งออกรายอื่น ๆ ซึ่งการขนส่งสินค้าแบบ FCL นั้นเหมาะกับผู้ประกอบการรายใหญ่หรือผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าจำนวนมาก เพราะถ้าหากขนสินค้าได้เต็มตู้คอนเทนเนอร์ก็จะช่วยลดต้นทุนในการขนส่งได้
ขนส่งแบบ FCL และ LCL มีความแตกต่างกันอย่างไร เช็กคำตอบได้ที่นี่!
นอกจากการขนส่งสินค้าแบบ FCL แล้ว หลายคนอาจจะเคยได้ยินการขนส่งสินค้าอีกรูปแบบหนึ่งที่มีชื่อว่า LCL ที่ย่อมาจาก Less than Container Load โดย LCL คือ การขนส่งสินค้าแบบแบ่งพื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์กับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ดังนั้นในตู้คอนเทนเนอร์จึงมีสินค้าหลากหลายชนิดอยู่รวมกัน ซึ่งการขนส่งแบบ LCL นี้จะเหมาะสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยหรือผู้ที่ต้องการส่งสินค้าในปริมาณน้อย เพราะสามารถขนส่งสินค้าร่วมกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าขนส่งแบบเหมาตู้คอนเทนเนอร์
ดังนั้นการขนส่งสินค้าแบบ FCL และ LCL จึงแตกต่างกันที่การแบ่งพื้นที่ขนส่งสินค้าภายในตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งและระยะเวลาในการดำเนินพิธีการทางศุลกากรแตกต่างกัน เพราะหากใช้การขนส่งแบบ FCL ก็อาจจะช่วยเคลียร์สินค้าผ่านพิธีการศุลกากรได้เร็วกว่า ทั้งนี้การเลือกรูปแบบวิธีการขนส่งก็ควรจะต้องพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นปริมาณสินค้า, ประเภทของสินค้า, เวลา ประกอบกับงบประมาณที่มี เพื่อให้สามารถเลือกวิธีการขนส่งที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับธุรกิจมากที่สุด
ข้อดีของ FCL คืออะไร? แนะนำข้อดีและข้อจำกัดของ FCL
ทำความรู้จักกับความหมายของการขนส่งแบบ FCL กันไปแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องศึกษาเกี่ยวกับการขนส่งรูปแบบนี้ก็คือข้อดีและข้อจำกัด ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้พิจารณาว่าการขนส่งแบบ FCL นั้นเหมาะกับสินค้าหรือธุรกิจของเราหรือไม่ โดยข้อดีและข้อจำกัดของการส่งแบบ FCL มีดังต่อไปนี้
ข้อดีของการส่งแบบ FCL
- หากสามารถใช้พื้นที่ได้เต็มตู้คอนเทนเนอร์ก็จะสามารถช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังช่วยให้การส่งสินค้ามีประสิทธิภาพมากกว่าอีกด้วย
- สินค้าที่จัดส่งจะมีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยมากกว่า เพราะไม่ต้องแบ่งพื้นที่กับสินค้าของผู้ประกอบการรายอื่น ๆ
- มีความสะดวกและรวดเร็วกว่า เพราะสินค้าสามารถผ่านพิธีการศุลกากรได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องรอกระบวนการขนส่งสินค้าและพิธีการศุลกากรของผู้ประกอบการรายอื่น
ข้อจำกัดของการขนส่งแบบ FCL
- หากสินค้ามีปริมาณน้อยไม่สามารถขนส่งแบบเต็มตู้ได้ ก็อาจส่งผลให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าสูงขึ้นทำให้ขาดทุนได้
เจาะลึกข้อควรรู้เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าแบบ FCL
สำหรับผู้ประกอบการที่เคยส่งออกหรือนำเข้าสินค้าจากจีนมาแล้ว ก็คงจะคุ้นเคยกับเอกสารหรือข้อควรรู้เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าแบบ FCL กันเป็นอย่างดี แต่หากเป็นผู้ที่มีแพลนจะเริ่มต้นธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีนหรือผู้ประกอบการรายใหม่ก็อาจยังไม่คุ้นเคยกับการขนส่งรูปแบบนี้มากนัก ในหัวข้อนี้จึงได้รวบรวมข้อควรรู้ที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้าแบบ FCL มาฝากผู้ประกอบการทุกคน ดังต่อไปนี้
Booking Confirmation
Booking Confirmation เป็นเอกสารการจองระวางสำหรับการขนส่งประเภท FCL ซึ่งใน Booking Confirmation จะมีข้อมูลแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้า อาทิ ชื่อผู้ส่งสินค้า, จำนวนของ, Container size, ท่าเรือต้นทาง และท่าเรือปลายทาง
B/L หรือ Bill of Lading
Bill of Lading (B/L) หรือ ใบตราส่งทางเรือ เป็นสัญญาการขนส่งที่ผู้รับขนสินค้าออกให้กับผู้ส่งสินค้า ซึ่งใบตราส่งทางเรือเป็นเอกสารสำคัญที่จะแสดงถึงสิทธิ์การเป็นเจ้าของสินค้าที่ขนส่งมา โดยผู้ที่เป็นผู้รับมอบสินค้าตามใบตราส่งทางเรือสามารถนำเอกสารนี้ไปแสดงเพื่อรับสินค้า หรือจะใช้ใบตราส่งทางเรือในการขายต่อสินค้าให้ผู้อื่นในระหว่างขนส่งก็ได้เช่นกัน
Packing List & Invoice
Packing List & Invoice หมายถึงเอกสารที่ใช้ในการผ่านพิธีศุลกากรทั้งขาเข้าและขาออก โดย Invoice จะเป็นเอกสารที่แสดงราคาสินค้าที่มีข้อมูลที่อยู่ของผู้ซื้อ-ผู้ขายสินค้า รายการสินค้า รวมไปถึงราคาและปริมาณ ซึ่งใบ Invoice จะเป็นเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบสินค้าที่จะได้รับและใช้แสดงกับเจ้าหน้าที่ของศุลกากร ส่วน Packing List เป็นเอกสารที่แสดงรายละเอียดสิ่งของที่บรรจุในแต่ละหีบห่อสินค้า ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักสินค้า จำนวนสินค้า หรือ Shipping Mark เป็นต้น
D/O หรือ Delivery Order
D/O หรือ Deliver Order หมายถึงใบปล่อยสินค้า ซึ่งออกโดยผู้ขนส่งหรือบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้า เพื่อให้ผู้รับสินค้าสามารถนำสินค้าออกจากท่าเรือได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งการที่ผู้นำเข้าจะได้ใบ Deliver Order มานั้นจะต้องนำใบ B/L หรือ Bill Lading ฉบับจริงไปแลกกับบริษัทตัวแทนหรือสายเรือก่อน นอกจากนี้ใบ Deliver Order นี้ยังมีความสำคัญต่อการเดินพิธีศุลกากรขาเข้าเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการชิปปิ้งจึงต้องตรวจสอบเอกสารชนิดนี้อย่างละเอียด
Container Size
Container Size คือความยาวของขนาดตู้คอนเทนเนอร์ที่ใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ซึ่งความยาวของตู้แต่ละขนาดก็จะเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลก สำหรับการส่งสินค้าแบบ FCL มักจะใช้ขนาดความยาวตู้อยู่ด้วยกัน 3 ขนาด คือ ตู้ขนาด 20 ฟุต 40 ฟุต และ 45 ฟุต
Container Type
Container Type หมายถึงรูปแบบหรือประเภทตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งตู้คอนเทนเนอร์แต่ละประเภทนั้นถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีความเหมาะสมกับการขนส่งสินค้าที่แตกต่างกัน อาทิ ตู้ Flatrack เหมาะสำหรับการบรรจุสินค้าที่มีขนาดใหญ่พิเศษ ตู้เย็นหรือตู้ Reefer เหมาะสำหรับการบรรจุสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ
Terminal Handling Charge
Terminal Handling Charge หรือ THC หมายถึงค่าธรรมเนียมที่จะถูกเรียกเก็บเนื่องจากการใช้ท่าเรือ โดยค่าธรรมเนียมส่วนนี้จะมาจากการขนถ่ายสินค้าจากทั้งต้นทางและปลายทาง อาทิ ค่าลากตู้สินค้า ค่าใช้เครนไฟฟ้ายกตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นลงเรือ และค่าใช้พื้นที่เพื่อพักตู้คอนเทนเนอร์
CFS charge
CFS Charge หรือเรียกอีกอย่างว่า Container Freight Station Charge เป็นค่าธรรมเนียมอีกหนึ่งประเภทที่เรียกเก็บจากการย้ายตู้ไปยัง Terminal รวมไปถึงการโหลดสินค้าเข้าและออกจากตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งค่าธรรมเนียม CFS Charge นี้อาจมีการเรียกเก็บไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับแต่ละสายเรือหรือตัวแทนขนส่งสินค้าแต่ละบริษัท
บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ FCL จาก Siam China Cargo ผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีน
การขนส่งสินค้าแบบ FCL นั้นมีข้อดีหลายด้านแต่ก็มีข้อควรรู้ที่ควรศึกษาก่อนเริ่มทำการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะเอกสารหลายรายการที่มีความสำคัญต่อการเดินพิธีศุลกากรขาเข้า ซึ่งหากดำเนินการผิดพลาดหรือตรวจสอบเอกสารไม่ละเอียด ก็อาจส่งผลให้ผู้ประกอบการเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แต่หากเลือกใช้บริการขนส่งสินค้าแบบ FCL ของ Siam China Cargo ก็จะช่วยลดความผิดพลาดเกี่ยวกับเอกสารต่าง ๆ ลงไปได้
ที่ Siam China Cargo นอกจากจะมีบริการขนส่งคอนเทนเนอร์แบบ FCL แล้ว ยังมีจุดเด่นอีกหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยดำเนินพิธีการศุลกากรส่งออกจากจีนเเละนำเข้าที่ไทย มีจุดรับสินค้าที่สามารถรับได้จากทุกเมืองในประเทศจีน นอกจากนี้ยังมีขนาดตู้คอนเทนเนอร์ให้เลือกถึง 3 ขนาด ซึ่งผู้ประกอบการสามารถเลือกได้ตามขนาดและปริมาณสินค้าที่ต้องการจะนำเข้า เรียกได้ว่า บริการขนส่งสินค้าของ Siam China Cargo เป็นอีกหนึ่งบริการที่จะช่วยให้การทำธุรกิจนำเข้าสินค้าจากจีนนั้นสะดวกมากยิ่งขึ้น
สรุป FCL รูปแบบการขนส่งสินค้าที่รวดเร็ว ประหยัดต้นทุน ช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้มากยิ่งขึ้น
FCL Shipment คือ การขนส่งสินค้ารูปแบบหนึ่งที่ผู้ประกอบการสามารถใช้พื้นที่ในตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าได้โดยไม่ต้องแบ่งกับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ซึ่งการขนส่งสินค้ารูปแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบรายใหญ่หรือผู้ประกอบการที่ต้องการส่งสินค้าจำนวนมาก เพราะสามารถช่วยลดต้นทุนในการขนส่งได้ และยังเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินพิธีการศุลกากรขาเข้าอีกด้วย
อ่านมาจนถึงตรงนี้ผู้ประกอบการคนไหนที่มองหาบริการขนส่งสินค้าแบบ FCL อยู่ แต่ยังไม่รู้ว่าจะใช้บริการจากตัวแทนไหนดี ขอแนะนำ Siam China Cargo ตัวแทนให้บริการนำเข้าสินค้าจากจีนแบบครบวงจร ให้บริการนำเข้าสินค้าเเบบถูกต้อง เอกสารใบขน ใบเสร็จศุลกากรครบถ้วนถูกต้อง นอกจากจะมีประสบการณ์นำเข้าสินค้าจีนมากกว่า 10 ปีแล้ว เรายังมีระบบออนไลน์ให้ผู้ประกอบการสามารถติดตามสถานะของสินค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย สนใจบริการขนส่งสินค้าจาก Siam China Cargo ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากช่องทางต่อไปนี้
- Line: @siamchinacargo
- Facebook : Siam China Cargo : นำเข้าสินค้าจากจีน
Pingback: Freight Forwarder คืออะไร สำคัญกับธุรกิจนำเข้าสินค้าอย่างไร